การระดมพลังสมอง (Brainstorming)
การระดมพลังสมองคือ การเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา
หรือเสนอความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มโดยวิธีคิดแบบปัจจุบันทันด่วน
เท่าที่ความคิดของสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะคิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น
ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีแต่เสนอขึ้นมาเท่านั้น คำเสนอจะถูกบันทึกไว้
(บนกระดานดำ) เพื่อประเมินผลหรือตามมติภายหลัง
ควรใช้เมื่อสมาชิกในกลุ่มรู้จักกันดี
มีความรู้ในปัญหานั้นแล้วพอสมควร
และบรรยากาศของกลุ่มเอื้ออำนวยให้ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงอกเกรงใจ
ประโยชน์ของการระดมพลังสมอง
1. ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง
ๆ โดยไม่ต้องคอยไตร่ตรอง ไม่มีข้อจำกัดหรือการกีดกันใด ๆ ทั้งสิ้น
2. ได้รับความเห็นหลาย
ๆ ด้าน ทำให้กลุ่มมีโอกาสในการพิจารณาเลือกหลายสิ่ง
ไม่จำเพาะเจาะจงอยู่ในความคิดเดียวตลอดไป
3. สร้างกลุ่มให้เกิดความคิดใหม่
ๆ ในการสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าของกลุ่ม
4. เป็นวิธีที่ให้โอกาสแก่ทุกคนเสนอความคิดเห็นได้
ซึ่งจะช่วยสร้างให้กลุ่มเกิดมีคุณธรรมและเกิดความรักหมู่คณะขึ้น
การจัดเตรียม
1. การจัดกลุ่ม “ระดมพลังสมอง” มีอุปกรณ์สำหรับเขียนเช่น
กระดานดำหรือกระดาษติดบอร์ดขนาดใหญ่ มีประธาน และสมาชิกกลุ่ม
อาจเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
เพื่อช่วยในการจดบันทึกการประชุมหรือเขียนกระดานดำหรือบอร์ด
2. สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนพอสมควร
(10-15 คน)
และให้เวลาแก่สมาชิกได้คิดชั่วขณะหนึ่งก่อนที่จะเริ่มเปิดแสดงความคิดเห็น
3. ปัญหาที่จะป้อนให้แก่กลุ่มมีทางออก
หรือมีทางเลือกได้หลายนัย หลายด้าน
4. กำหนดเวลาให้แน่นอนว่าจะใช้เวลาเสนอนานเท่าไร
จัดสถานที่ให้กลุ่มมีความเป็นกันเอง ตามสบายให้มากที่สุด
วิธีการและขั้นตอน
หน้าที่ของผู้นำ
1. แจ้งปัญหา
หรือเรื่องที่ต้องการให้สมาชิกในกลุ่มได้เสนอความคิดเห็นให้ทุกคนทราบ
มีคนคอยบันทึกข้อเสนอหรือความเห็นของสมาชิกบนกระดานดำ
2. แจ้งวิธี
หรือสิ่งที่สมาชิกในกลุ่มต้องปฏิบัติ เช่น เสนอความคิดสั้น ๆ อย่าให้ยาว จำกัดเวลา
(วิธีการนำเสนอมีหลายวิธี, พูด, การเขียน)
3. จัดลำดับก่อนหลังเมื่อมีผู้อยากจะพูดในเวลาเดียวกัน 2 คน
และพยายามกระตุ้นให้ทุกคนร่วมเสนอความคิดเห็นอยู่เสมอ
4. สร้างบรรยากาศให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็นต่าง
ๆ กันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
5. ประเมินผล
หรือสอบคุณค่าของความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ได้มาจากกลุ่ม
หน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม
1. พยายามละทิ้งความคิดเก่า
ๆ ที่เคยใช้อยู่และพยายามสร้างความคิดใหม่ ๆ ให้มาก
2. พยายามแสดงความคิดเสนอขึ้นมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
3. พยายามแสดงความเคารพในความคิดที่ผู้อื่นเสนอ
แม้เราจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
ข้อควรระวัง
เมื่อเสร็จวิธีแล้วควรเปิดโอกาสให้สมาชิกให้เหตุผลกันเองว่าทำไมให้คำตอบเช่นนั้น
แต่อย่าให้การเสนอความเห็นของสมาชิกยืดเยื้อเกินไป
ไม่ควรมีการวิจารณ์ความคิดที่สมาชิกเสนอขึ้นมา
ก่อนที่จะอธิบายปัญหาให้กระจ่างแจ้งเสียก่อน
เมื่อสิ้นสุดการอธิบายแล้วจึงปิดอภิปรายเพื่อลงมติว่าคำตอบใดเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
4.การสอนงาน(COACHING)
การสอนงาน(COACHING) คือการที่คนๆหนึ่ง
ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน
การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น
แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ
และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
การสอนงาน
เป็นหน้าที่ประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาที่พึงปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในอันที่จะให้เขาเกิดความเข้าใจงาน
มีความชำนาญ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องชี้แจงถึงวัตถุประสงค์
วิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียดและชัดเจน
เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จของงานการสอนงานถือเป็นกระบวนการเรียนรู้
และยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน มีประโยชน์มากมายทั้งต่อ
ผู้ได้รับการสอน ผู้สอน และต่อองค์กร
ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้
1. ไม่เกิดการลองผิดลองถูก
การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน
2. การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์
เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงาน
จากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. การปฏิบัติงานสะดวก
รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
4. ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง
5. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้
บทบาทของผู้สอนงาน
1. ให้การสนับสนุนแก่พนักงานที่สนใจในการปรับปรุงการทำงาน
2. ให้การสนับสนุนสำหรับพนักงานที่สนใจในการปรับปรุงทักษะและประสบการณ์ใหม่
3. ให้คำแนะนำแก่พนักงานที่ต้องการทิศทางของอาชีพ
4. ให้ Feedback ของการปฏิบัติงานอย่างจริงใจและเป็นธรรม
5. ให้การสนับสนุนหรือแนะนำสำหรับพนักงานที่สนใจในการเปลี่ยนงานภายใน
คุณลักษณะของผู้สอนงาน
1. มีความรู้และความสามารถในงานที่จะสอน
2. มีความรักในการถ่ายทอดความรู้
และมุ่งมั่นจริงจังในการสอนให้เกิดผลสำเร็จ
3. การสร้างความเชื่อใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย
4. เชื่อมั่นในตนเองและมีความตั้งใจในการสอน
5. ปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
6. มีทักษะในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ
7. มีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้รับการสอนหลักในการสอนงาน
1. ต้องชี้แจงให้ผู้รับการสอนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน
2. ต้องทำให้ผู้รับการสอนสนใจใคร่จะเรียนรู้งานที่จะสอน
3. ต้องมุ่งผลของการสอนงาน
โดยคำนึกถึงผู้รับการสอนเป็นสำคัญ
4. ต้องให้ผู้รับการสอนรู้ว่างานอยู่ในขั้นตอนไหน
และจัดการสอนให้มีสภาพเหมือนปฏิบัติงานจริง
ทำให้ผู้รับการสอนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์
5. ทำโปรแกรมการสอนงานให้เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้รับการสอน
กระบวนการสอนงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การหาความจำเป็นในการสอนงาน
2. การจัดทำแผนการสอน
3. การเตรียมเนื้อหาวิชา
4. การจัดทำแบบซอยงาน
คือ การนำงานที่จะสอนมาวิเคราะห์แยกเป็นส่วนๆ
5. การจัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์
6. การจัดเตรียมสถานที่
7. การประเมินผลการสอน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น