วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555
Ipad ชิ้นแรก
ใช้งาน Ipad
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบ Iphone Ipod และ Ipad ฝันว่าในชีวิตนี้ฉันจะต้องเป็นเจ้าของมันให้ได้ เมื่อฉันได้เป็นเจ้าของ Ipad2 ครั้งแรก
(คุณพ่อสุดที่รักซื้อให้)
ตอนนั้นราคา เกือบๆ 20000 บาท ฉันรู้สึกตื่นเต้น แถมดีใจมากเมื่อได้รองเล่นครั้งแรก คิดว่าจะเล่นยากมากแต่กลับเล่นง่ายสุดๆ หรือเป็นเพราะฉันอ่านวิธีการฉันงาน
ศึกษาการใช้เป็นอย่างดี
จึงไม่เป็นเรื่องยากในการใช้งาน Ipad2
เครื่องแรกของฉัน
ช่วงนั้นฉันใช้ Ipad2 ในการเข้าอินเตอร์เน็ตบ่อยมาก
บวกกับตอนนั้นมหาวิทยาลัยยังไม่มีกำหนดแจกคอมพิวเตอร์น็ตบุ๊ค ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงที่ปิดเทอม 2 เลื่อนรอบที่ 2 เพราะช่วงนั้นน้ำกำลังประชดตัวพี่กรุง
มหาวิทยาลัยจึงเลื่อน
ตอนนั้นฉันก็หวาดวิตกเหมือนกันเพราะบ้านฉันถึงไม่ได้อยู่กรุงเทพแต่ก็เป็นพื้นที่ติดกับกรุงเทพ ผนวกกับว่าช่วงนั้น พึ่งซื้อ Ipad2 มาใหม่ ตอนนั้นฉันอยู่กับบ้านนั่งจิ้มแต่ Ipad สุดที่รักของฉันโดยวิตกับเรื่องน้ำท่วม
การใช้งาน Ipad ช่วงนั้นเป็นเรื่องยากมากเพราะเป็นครั้งแรกในการใช้งานก็ว่าได้
ฉันมีปัญหากับการ Caption รูปภาพ เข้าอินเตอร์เน็ตหาวิธิการ Cap รูปต่างๆนานา แต่ฉันก็พบวิธีการ Cap
รูปภาพโดยการกด ปุ่มพักหน้าจอ/ปุ่มปิดเครื่อง บวกกับ ปุ่มโฮม
แค่นั้นก็ cap หน้าจอได้แล้ว
ภาค 2 ครั้งแรกในชีวิต
ต่อ ครั้งแรกในชีวิต
วันหนึ่งฉันอยากเล่นคอมพิวเตอร์มาก แถวบ้านฉันมีร้านเกม ชั่วโมงละ 20 บาท ฉันเลยชวนเพื่อนฉันไปเล่นคอม
ซึ่งในตอนนั้นฉันเปิดเครื่องปิดเครื่องเป็น แต่อยากจะเล่นแชทบ้างอะไรบ้าง พิมพ์ตอนนั้นพิมพ์ไม่เป็นเลยจิ้มได้อย่างเดียว
แถมเวรกรรมที่ว่าจะพิมพ์ตัวด้านบนต้องกดตัวไหนน๊าส์ (เวรกรรมสุดๆ) พูดง่ายๆ ปุ่ม Shift ยังไม่รู้จักมักหน้ากัน ฉันก็นั่งงง
นั่งงมเข็มในมหาสมุทร กะจะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
แต่ยังดีฉันเอาเพื่อนมาด้วย
กะว่าเพื่อนคงรู้คงช่วยฉันได้
แต่กลับมาเพื่อนยิ่งกว่าฉันอีก (เวรกรรม)
เวลาผ่านไป 1 ชั่วโมงยังหาวิธีพิมพ์ตัวอักษรด้านบนไม่ได้ จนพี่พนักงานที่ร้านเข้ามาช่วยจนฉันสามารถพิมพ์ตัวด้านบนได้แล้ว
(ตรบมือ)
พอฉันเริ่มเชี่ยวชาญเรื่องจิ่มแป้นพิมพ์แล้วฉันก็เริ่มหันมาเล่น
แชทอย่างเต็มตัว ตอนนั้นฉันเริ่มเล่น QQ ซึ่งเป็นโปรแกรมแชทของ sanook.com ตอนนั้นเป็นโปรแกรมแชทที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กๆ
ฉันตั้งหน้าตั้งตาเล่นเป็นอย่างมากโดยไม่สนใจใคร
ฉันจำได้ตอนนั้นติดจนสุกงอมเหมือนมะม่วงเลย เพราะเล่นทั้งวันทั้งคืน หมดเงินไปกันการแชท วันละเกินร้อย แต่พอเริ่มโตขึ้นฉันก็เริ่มเลิกแชท หันกลับมาเล่นอย่างอื่นแทน ที่ไม่ต้องเสียเงิน เสียประสาท
ครั้งแรกในชีวิต
ครั้งแรกในชีวิต
เมื่อสมัยเด็กๆฉันเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรกเมื่อประมาณ
ป.5 (เป็นโรงเรียนของรัฐบาลต้องทำใจ) ครั้งแรกที่ได้จับคอมพิวเตอร์มือสั่น ใจ เต้นแรง ตื่นเต้นมาก (เวอร์ไปไหม) เริ่มแรกคุณครูผู้สอน
ก็สอนเปิดเครื่องปิดเครื่อง (พื้นฐานมาก)
ครูผู้สอนให้ฉันฝึกใช้เมาส์เป็นอันดับแรกโดยการใช้งานโปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมแรก วาดรูปนู้นรูปนี้ ตอนนั้นฉันรู้สึกสนุกกับการวาดรู้มาก ก็ตอนนั้นฉันยังไม่กี่ขวบ ฉันร้องขอให้คุณพ่อซื้อคอมพิวเตอร์ให้ฉัน
ซึ่งสมัยนั้นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเครื่องนึงก็ราวๆ 20000 บาท
คุณพ่อจึงยังไม่ซื้อให้ฉัน
ฉันจึงได้แต่ไปเล่นที่ร้านเกม
แต่เรื่องมันก็เกิดเรื่องจนได้....
โปรดติดตามตอนต่อไป
ผู้จัดทำ
ผู้จัดทำ รหัส 53 นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
|
|
|
สำเร็จ บุตรรอด
|
วาสนา แจ้งถิ่นป่า
|
พัชรวรินทร์ พุ่มพฤกษ์
|
|
|
|
ศิริวัฒนา ยอดดี
|
ชลลดา ชินพันธุ์
|
รัชพิญ์ ทัพลา
|
|
|
|
รัชฎา ไชยมาตย์
|
เอกชัย สิทธิเวช
|
รัชฎาภรณ์ ใจคำต๋า
|
|
|
|
นัยนภางค์ จำปา
|
ณัฏฐณิชา จันทร์สี
|
วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
Action Learning
Action Learning
คือ การเรียนรู้จากการได้ลงมือทำจริง ในงานจริงๆ
โดยผู้จัดต้องนำงานจริงที่ผู้เรียนรู้จะต้องได้ทำอยู่แล้วในงานประจำ
เข้ามาเป็นงานในห้องเรียนด้วย ดังนั้น การเรียนแบบนี้จึงไม่ใช่ครั้งเดียวจบ
แต่เป็นการเรียนแบบต่อเนื่อง
แล้ว Action Learning ดีอย่างไร-เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือใช้ความรู้ที่ผ่านการเรียนรู้
มาใช้เลยโดยมีผู้สอนคอยเป็นพี่เลี้ยง และองค์กรก็ได้ผลจากการทำงานจริง
ไม่เหมือนกับเรียนจากกรณีศึกษา ซึ่งบางครั้ง ผู้เรียนอาจลงมือทำแบบเสียไม่ได้
ไม่กระตุ้นความสนใจ ทำให้ไม่ได้เรียนรู้อะไรนัก
ตัวอย่างการทำ Action Learning เช่น ในการพัฒนา พนักงานขาย
เราจะให้พนักงานได้รับพื้นฐานความรู้จากสิ่งที่เราต้องการให้ เช่น
การทำแผนการเดินทางเพื่อการมีประสิทธิภาพ จากนั้นนำไปใช้ในงานจริง
(เอางานจริงเข้าห้องเรียนมาด้วยเลย) ให้เขาได้ลองวางแผน แล้วให้นำไปใช้
โดยที่มีหัวหน้างานของเขา คอยเป็นพี่เลี้ยง และติดตามความคืบหน้าครับ
นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่น่าสนใจครับ
นอกจากสอนในห้องแบบแห้งๆ
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
External Consultant
External Consultant
เป็นบุคคลที่มาจากภายนอกองค์การ
ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการคิด
วางระบบงานให้แหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน
เป็นกลุ่มคนที่จะต้องติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ
เพื่อนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน ลักษณะการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกนั้นสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น
การจ้างเป็นโครงการโดยมีระยะเวลาและผลงานที่ต้องนำส่งมอบอย่างแน่นอน
หรือการจ้างแบบต่อเนื่องทำเป็นสัญญาปีต่อปี
ซึ่งจะต้องเข้ามาในองค์การอย่างน้อยเดือนละสองหรือสามครั้งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างที่ปรึกษาภายนอกและองค์การ
ข้อดี External Consultant เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์และมีมุมมองที่หลากหลายจากการให้คำปรึกษากับบริษัทภายนอกต่างๆ จึงทำให้ผู้บริหารยอมรับ ศรัทธา
และไว้เนื้อเชื่อใจในการคิดและออกแบบระบบงานให้กับองค์การ
ซึ่งจะทำให้องค์การได้รับความคิดเห็นที่แตกต่างจากบุคลากรภายในองค์การ
นอกจากนี้ประโยชน์ของการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกก็คือ
การลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะเป็นกลุ่มคนภายนอก (Third Party) ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประโยชน์ขององค์การ
ข้อจำกัด องค์การจะต้องจัดสรรงบประมาณในการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอก
และยิ่งองค์การใหญ่หรือองค์การที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบงานมาก
ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาจะมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ความรู้และความเข้าใจในธุรกิจขององค์การ (Business Acumen) ของที่ปรึกษาภายนอกจะมีไม่มากเท่ากับที่ปรึกษาภายใน
ดังนั้นจึงทำให้การออกแบบระบบงานอาจไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์การ
จนเป็นเหตุให้ระบบงานที่ออกแบบขึ้นไม่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริงได้เท่าที่ควร
ที่มา http://www.hrcenter.co.th
Computer Mediated Communication-CMC
การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Communication-CMC)
วอลเชอร์ (Walther 1992) ให้ความหมาย CMC เอาไว้กว้าง ๆ ว่าคือการประชุมโดยอาศัย
คอมพิวเตอร์ (computer
conferencing) และการใช้ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์
(electronic mail) ซึ่งเกิดขึ้นและดำเนินไปในเวลาเดียวกัน (Synchronous) หรือตารางเวลากัน (asynchronous) โดยที่ผู้ส่งสารใส่รหัส (encode) ลงไปในเนื้อหาสาระ (text messages) ซึ่งจะถูกถ่ายทอด (relayed) จากคอมพิวเตอร์
ของผู้ส่งสารไปสู่คอมพิวเตอร์ของผู้รับสาร
จากนิยามของ Walther จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้
สำหรับ CMC และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเชื่อมโยง
ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งสาร
และผู้รับสารที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานลำเลียงที่ถูกใส่รหัส
CMC ในยุคเริ่มต้นถูกมองว่าเป็นทั้งอุปกรณ์ที่อาศัยเทคโนโลยีใหม่
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ (mean) ของการบริหารงานภายในองค์กร
แต่แนวโน้มในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงวิชาการ CMC มีฐานะเป็นสาขาวิชาใหม่ ที่แตกแขนงมาจาก new media technology ที่ศึกษาสื่อใหม่ที่เกิด
เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีสื่อใหม่ในที่นี้ คือ คอมพิวเตอร์
ที่เปลี่ยนสภาพจากอุปกรณ์ (tool) ในสำนักงานหรือองค์กรธุรกิจ
มาเป็นสื่อที่มีความโดดเด่น (dominance) ในยุคของข้อมูลข่าวสาร
ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของ CMC คือ ความเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสากล
(universal medium) ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นทั้งเครื่องรับ
และลำเลียงข้อมูลข่าวสารอย่างอื่นมีอยู่ทั่วไปดังนั้น
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายในฐานะที่เป็นอุปกรณ์การสื่อสารอย่างหนึ่ง
จึงสามารถที่จะจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่ถูกสื่อสารอย่างเป็นสากล คือที่ใดก็ได้
ด้วยความเป็นสากลของมัน คือทำได้เหมือนเครื่องรับ และลำเลียงข้อมูลข่าวสารอื่นๆ
ด้วย (Pastimes, I, Spears, R
& Lea, M 1998) ลักษณะอันเป็นสากลของคอมพิวเตอร์
ที่โยงใยกันเป็นเครือข่ายดังกล่าวข้างต้นการที่จะระบุ
คุณสมบัติของอุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ใน แง่หน้าที่ในการสื่อสาร (communication function) ให้ชัดเจนลงไปจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ตัวอย่าง
เช่น คอมพิวเตอร์ที่โยงกันเป็น เครือข่ายดังกล่าวข้างต้นการที่จะระบุ
เช่นคอมพิวเตอร์โยงใยกันเป็น เครือข่ายนั้นมีพันธกิจ
ในด้านการเป็นสื่อกลางของการสื่อสาร ระหว่างบุคคล (person-to-person communication medium) ทั้งนี้โดยการประยุกต์ใช้ e-mail, voice-mail, desktop video
conferencing คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้สนับสนุนการต่อรองระหว่างกลุ่ม
(group negotiation) และการสร้างเวทีในการถกเถียง แสดงความคิดเห็น (discussion forums) เช่น การ chat หรือการเล่นเกมที่อาศัยการ ปฏิสัมพันธ์ (interactive gaming) นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังถูกใช้ฐานะที่เป็นสื่อกลางขององค์การสื่อสารมวลชน
(mass
communication) แสดงหน้าที่คล้ายคลึงกับสื่อดั้งเดิม
เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หน้าที่ของคอมพิวเตอร์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์
มีศักยภาพในการสื่อสารที่มีสื่อเป็นศูนย์กลางในหลายรูปแบบ
คุณลักษณะดังกล่าวนี้เองที่ทำให้คอมพิวเตอร์แตกต่างไปจากสื่อใหม่ (new media) ชนิดอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก่อน เช่น โทรศัพท์
ซึ่งถูกออกแบบให้มีหน้าเดียว คือการถ่ายทอดสัญญาณ เสียง อาจกล่าวได้ว่า
คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่เอกลักษณ์พิเศษชนิดแรกที่สามารถแสดงศักยภาพในแง่
วิธีการสื่อสารที่เทคโนโลยีเก่าทำได้ทั้งหมด และมากกว่าเดิมด้วย
ที่มา http://www.konchangfuns.com
Leverage of knowledge asset
Leverage of knowledge asset
Knowledge asset คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI ( SECI คือกระบวนการสร้างความรู้ )
Knowledge asset แบ่งเป็น 4 แบบ
1. Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ลูกค้า
คู่ค้า ฯลฯ ได้แก่: ทักษะในการทำงานของแต่ละคน, ความรักในการทำงาน, passion
2. Conceptual - ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา ได้แก่:
คอนเซปต์ผลิตภัณฑ์, ดีไซน์, แบรนด์
3. Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เป็นรูทีนอยู่ในองค์กร เช่น ทักษะในการทำงานของทีม
วิธีหรือขั้นตอนการทำงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
4. Systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ สเปก database สิทธิบัตร
Knowledge Workers
Knowledge Workers
ทุนมนุษย์ นับเป็นทรัพยากรอันสำคัญยิ่งขององค์กรที่เพียบพร้อมไปด้วยทั้ง Tacit Knowledge ทักษะประสบการณ์ในการทำงาน และเจตคติที่มีต่อองค์กร
ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความเปลี่ยนแปลงนั้นแผ่กระจายไปทั่วโลก ดังนั้นทุกองค์กรจึงพยายามที่จะแข่งขันเพื่อให้องค์กรอยู่รอด ก้าวหน้าและสง่างามกว่าองค์กรอื่น สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันได้นั้น ทุกคนในองค์กรต้องทำงานโดยอยู่บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge base) เป็นสำคัญ Blue collar workers จึงกำลังถูกแทนที่ด้วย Knowledge workers หรือผู้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความรู้ ซึ่ง Knowledge workers นี้จะเป็นผู้ที่มีศาสตร์เป็นฐานความรู้และมีศิลป์ในการบริหารจัดการในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ โดย Knowledge workers จะมีคุณลักษณะดังนี้
1) มีความสามารถพิเศษในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
2) มีความคิดจิตใจที่เป็นอิสระ
3) การจูงใจที่ดีคือการยอมรับเมือเขาสามารถทำงานได้บรรลุผลสำเร็จ
4) ชอบทำงานเป็นทีม
5) ไม่ชอบการควบคุม
6) ชอบที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการสร้างทีม
การบริหารจัดการโดยใช้วิธีควบคุมและการกำกับทีม จะทำให้ความสำเร็จของงานที่ได้ไม่ยั่งยืน แต่ทีมที่สามารถควบคุมดูแลตนเองได้จะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะทีมจะมีคุณลักษณะเฉพาะคือ ชอบที่จะเรียนรู้ในการควบคุมตนเอง องค์กรเพียงมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทีมสามารถสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันได้อย่างอิสระ (Delegate & Support) เขาจะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย
การบริหารจัดการ Knowledge workers จึงเป็นเรื่องที่ยากเพราะผู้บริหารมักยึดติดกับการสั่งการและการควบคุม (Direct & Control) ในขณะที่การทำงานร่วมกับ Knowledge workers ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม จริงใจ และสร้างให้มีความรู้สึกร่วมกันในทีมในการสร้างชื่อเสียงร่วมกัน
ซึ่งนับเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต้องการทั้งสติปัญญา
ความรู้ความสามารถในงาน ความเข้าใจกันโดยเฉพาะความเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และความสามารถในการครองใจผู้ร่วมงานซึ่งต้องใช้ทักษะในการบริหารคน
(Human Skill) โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ซี่งนับว่าเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารยุคใหม่อย่างมากๆ
Knowledge Sharing
Knowledge Sharing
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) คือ
การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
องค์ประกอบหลักที่สำคัญๆ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบหลักที่สำคัญๆ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1. คน (People) – ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด
เพราะเป็นแหล่งศูนย์รวมของความรู้ที่สมควรนำออกมาแบ่งปันเป็นอย่างยิ่ง
โดยก็ควรจะเป็นคนที่มีความรู้จากการปฏิบัติจริง
และอยากจะมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้นั้น ด้วยความเต็มใจ
2. สถานที่ และบรรยากาศ (Place) – เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มี
ชีวิตชีวาและน่าสนใจ เพราะสถานที่และบรรยากาศที่ดี (สบายๆผ่อนคลาย)
มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มคน จะทำให้คนเหล่านั้นมาเจอกันพูดคุย ปรึกษา
วิเคราะห์ปัญหา แบ่งปัน
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสบายใจ
3. สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (Infrastructure) - เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดได้
ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น กระดานสำหรับเขียน
คอมพิวเตอร์สำหรับการสรุปและจัดเก็บความรู้รวมถึงการแบ่งปัน (Share) หรือการส่งต่อข้อมูล
และเมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ประการพร้อมแล้ว
การที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นประสบความสำเร็จ และใช้ประโยชน์ได้จริง
ก็ควรคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญๆของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล(Effective Knowledge Sharing) ดังนี้
ปัจจัยหลักของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6 ประการ ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมายการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชัดเจนและสัมพันธ์กับเป้าหมายทางธุรกิจ
2. สร้างผู้นำที่เป็นแบบอย่าง
3. สร้างเครือข่ายของผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ (Human Networks)
4. กำหนดวิธีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร
5. แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปใช้ในงานประจำวันได้
6. สร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Mentoring
Mentoring ระบบพี่เลี้ยงในการจัดการความรู้
ระบบพี่เลี้ยงเป็นระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่ากับพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย
โดยพี่เลี้ยงหรือผู้ที่มีประสบการณ์สูงจะทำหน้าที่ในการคำปรึกษา แนะนำ ผู้สอนงาน
และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้กับพนักงานที่อ่อนประสบการณ์
ระบบพี่เลี้ยงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการจัดการความรู้ในแง่ของการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่ประสบการณ์มากกว่าและเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์น้อยกว่า
เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ความรู้ยังคงอยู่ในองค์กรตลอดเวลา
และเป็นการดักจับความรู้ก่อนที่จะสูญหายหรือออกไปเป็นผู้แข่งขัน เนื่องจาก
วิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด ก็คือ การที่บุคคลได้พูดคุยกับอีกคนหนึ่ง
ดังนั้น การพูดคุยในระบบพี่เลี้ยง แท้จริงแล้ว ก็คือ
การติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานที่ประสบการณ์มากกว่าอีกคนหนึ่งนั่นเอง
การถ่ายทอดความรู้จำนวนมากจึงเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรในปัจจุบัน
ที่จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน
การให้ความรู้ลื่นไหลไปยังทั่วทั้งองค์กร
ซึ่งจะนำไปสู่ความอยู่รอดขององค์กรและธุรกิจ
ระบบพี่เลี้ยงได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงและนิยมใช้กันมากในหลายๆ
ปีที่ผ่านมา เป็นช่องทางที่ดีสำหรับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร เนื่องจากระบบพี่เลี้ยงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความรู้
ที่มีจุดประสงค์พื้นฐานในการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่างพี่เลี้ยง (Mentor) กับพนักงานที่ถูกสอนงาน
การทำหน้าที่พี่เลี้ยง
อาจเริ่มตั้งแต่ การทำหน้าที่พี่เลี้ยงของพนักงานใหม่
เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กร
เพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว
หรือเข้ากันไม่ได้กับเพื่อนร่วมงาน เป็นการป้องกันการลาออกจากองค์กร ให้พนักงานใหม่มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กร
ลักษณะการทำงาน และนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
การทำหน้าที่ให้กับพนักงานที่ถูกสอนงานจะเป็นการสร้างกลุ่มคนที่มีความสามารถ
มีศักยภาพได้เร็วกว่าพนักงานปกติ
เป็นการจูงใจพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีและมีศักยภาพในการทำงานสูงให้คงอยู่กับหน่วยงาน
เป็นการกระตุ้นให้พนักงานสร้างผลงานมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานหนักและท้าทายมากขึ้น
เป็นการสร้างบรรยากาศของการนำเสนอผลงานใหม่ๆ หรือความคิดนอกกรอบมากขึ้น
ซึ่งการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับพนักงานที่ถูกสอนงานหรือลูกน้อง
ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง ถ้าลูกน้องมีผลการปฏิบัติงานที่สูงกว่ามาตรฐาน
หัวหน้าจะรับบทบาทการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) หากลูกน้องมีผลการปฏิบัติงานตรงตามมาตรฐาน
หัวหน้างาน จะรับบทบาทเป็นผู้สอนงาน (Coaching) และหากลูกน้องมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐาน
หัวหน้างานจะรับบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counsleing)
บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ลงทะเบียนเป็นผู้รับการสอนงาน
เรียนรู้และทักษะจากพี่เลี้ยง
เสาะหาและพัฒนาทักษะใหม่และความสามารถที่ต้องการมีในอนาคต
มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง
มีการริเริ่มในการบริหารความสัมพันธ์
รักษาความลับ
เป็นผู้รับและมีการตอบสนองด้วยความคิดใหม่
ฟังและซักถาม
มีเครือข่ายภายในและภายนอกองค์กร
มีการสื่อสารอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์
มีการแลกเปลี่ยน ความคิดและสิ่งอื่นๆตามความเหมาะสม
เข้าร่วมการพัฒนาอย่างเป็นทางการ
ทำงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามความสามารถของตนเอง
แนะนำความคิดใหม่ๆให้กับพี่เลี้ยง
เคารพความแตกต่าง
ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ถูกตั้งโดยพี่เลี้ยง
บทบาทและความรับผิดชอบของพี่เลี้ยง
สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพให้กับพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
รักษาความลับ
ดูแลพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ดูแลเสมือนเป็นทรัพยากรอันมีค่า
สอนกลยุทธ์ ค่านิยม วิสัยทัศน์
และวัฒนธรรมองค์กรเป็นอันดับแรก
ยอมรับความสัมพันธ์ในระยะยาว
ปฏิบัติในฐานะที่เป็นเสียงของกรรมการและช่วยพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ในการชี้นำและเข้าถึงวัตถุประสงค์ที่จะสามารถไปถึงได้
ลงทุนในเรื่องเวลาและพลังงานในการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและความสัมพันธ์กับพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ กลยุทธ์
และบทเรียนที่เหมาะสม
ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณ มุมมอง และการตอบสนองที่สร้างสรรค์ต่อพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
เผชิญหน้ากับพฤติกรรมและทัศนคติในทางลบ
ส่งเสริมให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อวัฒนธรรมองค์กร
เป็นต้นแบบที่ดีและสอนด้วยตัวอย่าง
ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ
เมื่อถูกร้องขอจากพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน ตามความเหมาะสม
สนับสนุนและให้คำแนะนำอย่างฉลาดตามความเหมาะสม
เคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคล
เสนอให้พนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ได้รับการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ
เข้าร่วมการพัฒนาบุคลากร
บทบาทและความรับผิดชอบขององค์กร
ในหลายๆองค์กร ระบบพี่เลี้ยงมักจะล้มเหลว
เพราะองค์กรขาดการส่งเสริม
เป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะให้มีจัดกระบวนการของการรับสมัครพี่เลี้ยงที่มีศักยภาพและเสนอโอกาสให้ทั้งพี่เลี้ยงและพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
นอกเหนือจากนี้ องค์กรควรจะฝึกหัดและสนับสนุนระบบพี่เลี้ยง มีการฝึกอบรม
และมีการให้คำแนะนำต่อพี่เลี้ยงและพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ปัจจัยที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงล้มเหลว
ขาดความผูกพันและขาดการให้คำปรึกษา
เมื่อพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
ไม่มีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการวางแผนและการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ระบบพี่เลี้ยง
ระบบพี่เลี้ยงจะล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อจะมีการจัดการเพียงฝ่ายเดีย
ขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
การสื่อสารเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ระบบพี่เลี้ยงดำเนินไปด้วยดี
กลยุทธ์ในการทำให้ระบบพี่เลี้ยงเป็นไปด้วยดีจะต้องมีการติดต่อสื่อสารทั่วทั้งองค์กร
การขาดการติดต่อสื่อสาร การขาดการแลกเปลี่ยนความรู้
การตอบสนองต่อกลยุทธ์ของระบบพี่เลี้ยง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงล้มเหลว
ขาดการฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ การขาดการฝึกอบรม
การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ และการขาดการสนับสนุนอื่นๆ
ที่จะทำให้ระบบพี่เลี้ยงดำเนินไปได้
มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ระบบพี่เลี้ยงต้องการการเปลี่ยนแปลงในการบริหาร ผู้บริหารจำนวนมาก
มักจะยังคงต่อต้านโปรแกรมของระบบพี่เลี้ยง
ผู้บริหารเหล่านี้รู้สึกว่าถูกยกเลิกอำนาจถ้ามีการใช้ระบบพี่เลี้ยง
คัดเลือกพี่เลี้ยงที่ไม่เหมาะสม
หลายบริษัทเลือกพี่เลี้ยงผิด
โดยคิดว่าพนักงานที่มีประสบการณ์มากจะเป็นพี่เลี้ยงที่ดีที่สุด
พี่เลี้ยงควรเป็นผู้ที่คนที่มีทักษะ มีวิสัยทัศน์ที่ดีในองค์กร ในทุกฝ่ายงาน
และในทุกฟังก์ชั่นการทำงาน
แยกโครงการพี่เลี้ยงออกมาจากการพัฒนาบุคลากร
ไม่เป็นการดีที่จะบูรณาการเข้ากับการพัฒนาบุคลากรของฝ่ายบุคคล
โครงการของระบบพี่เลี้ยงควรถูกจับแยกออกมา
เพื่อจะได้สร้างหรือริเริ่มโดยผู้บริหารผู้มองเห็นผลประโยชน์ของระบบพี่เลี้ยง
ปัจจัยที่ทำให้ระบบพี่เลี้ยงประสบผลสำเร็จ
การยอมรับในองค์กร ต้องมีการทำความเข้าใจกันอย่างชัดเจนว่า
โครงการพี่เลี้ยงเป็นสิ่งที่ต้องการในองค์กร
ผลประโยชน์ของโครงการพี่เลี้ยงควรจะได้รับการเสนอเป็นจุดเด่น
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับอาวุโส
เพราะไม่เพียงแต่เรื่องเงินทุนสนับสนุน แต่ยังสามารถที่จะแสดงให้องค์กรเห็นว่า จะทำให้เกิดผลประโยชน์
ในการพัฒนาทางอาชีพของคนในองค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะของพี่เลี้ยงที่เหมาะสม
การตัดสินว่าใครจะมีความเหมาะสมในการทำหน้าที่พี่เลี้ยง
ผู้บริหารควรจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการมีส่วนร่วมในกำหนดคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงและประเมินความสำเร็จของบทบาทและหน้าที่ของพี่เลี้ยง
การจับคู่ได้อย่างเหมาะสม
การจับคู่ระหว่างพี่เลี้ยงและพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงานนี้มีความสำคัญ
บางครั้งพี่เลี้ยงที่สามารถให้คำปรึกษาได้ควรมีประสบการณ์ในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักถึงก็คือความขัดแย้งเป็นการส่วนตัว
การฝึกอบรมกลุ่มพี่เลี้ยง
การฝึกอบรมพี่เลี้ยงสามารถเพิ่มโอกาสของความสำเร็จได้ถึง 40% แต่อย่างไรก็ตามทุกบทบาทควรได้รับการฝึกเพื่อให้เข้าใจถึงความเคลื่อนไหว
ของระบบพี่เลี้ยงและบทบาท ความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
การสื่อสาร การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญของระบบพี่เลี้ยง
การขาดการสื่อสาร การขาดการแลกเปลี่ยนความรู้
และการขาดการตอบสนองเกี่ยวกับกลยุทธ์ของความเป็นพี่เลี้ยงเป็นสาเหตุสำคัญของความล้มเหลวในระบบพี่เลี้ยง
การยอมรับในความหลากหลาย
เป็นลักษณะสำคัญของความสำเร็จของระบบพี่เลี้ยง หมายความว่า
พี่เลี้ยงต้องทราบว่าวิธีใด/เรื่องใดที่จะส่งผลกระทบถึงภูมิหลังของความสัมพันธ์ระหว่างพี่เลี้ยงและพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
นอกจากนี้ พี่เลี้ยงต้องเข้าใจในภูมิหลังของพนักงานใหม่/พนักงานที่ได้รับการสอนงาน
การติดตามและการประเมินผล เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ
ที่ต้องมีการติดตามและประเมินผลเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์
ที่มา : http://stks.or.th